Skip to content

Latest commit

 

History

History
119 lines (80 loc) · 13.6 KB

Recursive.md

File metadata and controls

119 lines (80 loc) · 13.6 KB

RECURSIVE

  •   Recursive คืออะไร เรียนไปทำไม ?

             Recursive / Recursion / Recursive function คือ ฟังก์ชันที่เรียกใช้ตัวเองเพื่อแก้ปัญหาด้วยการแบ่งปัญหาให้เล็กลง
    จากนั้นรวมผลลัพธ์เข้าด้วยกัน ซึ่งการแก้ปัญหา ในรูปแบบนี้เรียกว่า Divide-and-conquer  ไม่ใช่ทุกปัญหาที่จะสามารถใช้ Recursive
    ในการแก้ปัญหาได้ ถึงแม้บางปัญหาจะสามารถใช้ได้ แต่การเขียนโปรแกรมด้วยการใช้คำสั่งวน loop / Iteration ปกติอาจจะเหมาะสมและ
    มีประสิทธิภาพกว่าการใช้ Recursive
    
    
    :: วิธีการเขียน Recursive Function ::
       Recursive ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
    
    1.  Base  Case  คือ  เงื่อนไขที่ทำให้เราหลุดจาก loop
    
    2.  General  Case  คือ  คือการเรียกใช้ Function ตัวมันเอง ทำให้เกิดการวนลูปทำงานซ้ำ การทำงานของ Recursive คือ
        เมื่อ Function มีการเรียกตัวเอง มันจะเพิ่มไปยัง Recursive Call Stack โดย Stack ก็คือ LIFO (Last In First Out)
        ซึ่งหมายความว่า Item สุดท้ายที่ถูกเพิ่มมาที่ด้านบนของ Stack จะเป็น Item แรกที่จะถูก Remove ออกจาก Stack
    
        ดังนั้น ถ้าเราจะเขียน Recursive  function ต้องหา Base Case และ General Case ให้เจอ
    
    
    :: ยกตัวอย่าง โจทย์ปัญหาที่ใช้ recursion แก้ได้ ::
       จงหา Factorial ของ 5
    
       sol   การหา Factorial ทำได้โดย
               1!  =  1  
               2!  =  1*2  =  1!*2  =  2
               3!  =  1*2*3  =  2!*3  =  6
               4!  =  1*2*3*4  =  3!*4  =  24
               5!  =  1*2*3*4*5  =  4!*5  =  120
    
            จะเห็นว่า เป็นการทำงานซ้ำๆ  และ สามารถแบ่งจากเคสใหญ่ที่ต้องการหา 5! เป็นการหาเคสย่อยที่สุด คือ 1! ได้ ในกรณีนี้
            สามารถใช้ได้ทั้ง loop และ recursive  ดังรูป
    

    recursive_factorial

            จะเห็นว่าปัญหาเดียว สามารถเขียน code แก้ปัญหาได้หลายแบบ หลายอัลกอริทึม
    

  •   เราควรใช้ loop ตอนไหน และตอนไหนควรใช้ Recursive ?

            Recursion ถูกสร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่สามารถจะแบ่งออกเป็นปัญหาที่เล็กลงได้ และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ที่มีความซับซ้อนเกินกว่าที่จะใช้
      Iteration เช่น การเขียนโปรแกรม Search ผ่าน File System ที่มี โครงสร้าง(Data Structure) เป็น Tree จะเริ่มต้นหาที่ Root Folder จาก
      นั้นสามารถ Search ทุก File และ Folder ทั้งหมดที่อยู่ภายใน Folder นั้น หลังจากนั้น จะเข้าไปในแต่ละ Folder แล้ว Search ในแต่ละ Folder
      ที่อยู่ภายในนั้นอีก  จะเห็นว่าซับซ้อนมากถ้าเราใช้ loop ต้องมาตรวจสอบและเช็คเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ทั้งหมด ซึ่งเยอะมาก  ดังนั้น
      recursion จึงเหมาะใช้ในการสำรวจ (Traversal) เส้นทางในโครงสร้างแบบ Tree หรือ Graph และ ปัญหาที่แก้ได้ด้วยวิธี Divine & Conquer
      มากกว่า  เพราะการใช้ปกติอย่างตัวอย่างก่อนหน้าที่เป็นการหา Factorial จะเห็นว่า การใช้ recursion จะเพิ่มการใช้งานของ Memory โดยไม่จำเป็น
      มีบางครั้ง ที่เราอาจต้องยอมให้เกิดสิ่งนี้เพื่อให้ได้ Algorithm ที่สั้นอ่านง่าย แต่บางทีก็อาจมีวิธีที่ดีกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ในการแก้ไขปัญหา
    
            เราต้องเรียน recursion เพราะมันจะถูกนำไปประยุกต์ใช้ในบทต่อๆไป  เช่น Merge Sort , Hanoi Tower
    
            สำหรับ Project ขนาดเล็กการ recursion จะไม่สร้างปัญหากับ Program มากนัก แต่ถ้า Program เริ่มมี input มากขึ้น เริ่มสร้าง
      Recursive Call ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง อาจต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก Call Stack ที่มี ขนาดใหญ่ส่งผลให้โปรแกรมทำงานได้ช้าลงได้
    

  •   Exerxise 1  :  Fibonacci 🔗

            Fibonacci คือ สัดส่วนตัวเลขที่คิดค้นขึ้นจากฝั่งตะวันตกโดย Leonardo Bigollo Pisano (นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี) เป็นผู้ค้นพบสัดส่วน
     นี้โดยเขาสังเกตว่าธรรมชาติรอบตัวเรา มีความพิเศษและมีความเป็นสัดส่วนที่เท่ากันอยู่ในธรรมชาติ เช่น อัตราส่วนของเปลือกหอย เกษรดอกไม้
     เขาค้นพบว่า Fibo คือสัดส่วนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นสัดส่วนที่สายตาของมนุษย์มองมาแล้วจะรู้สึกว่าลงตัว รู้สึกสวยงาม และสบายตา มีผลไปถึง
     สัดส่วนใบหน้าของชาย และหญิงที่คนเราจะมองแล้วรู้สึกว่าสวย หรือหล่อ เนื่องจากมีสัดส่วนธรรมชาติที่สมดุล และตรงกับลำดับ Fibonacci
    
            นิยามของ Fibo คือ สัดส่วนตัวเลข (อนุกรม) ที่ตัวเลขแต่ละตัวจะมาจากผลลัพธ์รวมกันของตัวเลข 2 อันดับก่อนหน้ามีชื่อเรียกว่า
     “Fibonacci Sequence” โดยเริ่มจากชุดตัวเลขตั้งแต่ 0 กับ 1 ตัวเลขถัดไปนั้น จะเกิดจาก 2 ตัวเลขก่อนหน้าบวกกัน และสามารถบวกกันต่อไปได้อย่าง
     ไม่มีจุดจบ
    
            ตัวอย่างเลข Fibonaicci 10 อันดับแรก : 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, …
    
    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    
     Exercise 1 : จงเขียนโปรแกรมหาเลข Fibonacci 100 อันดับแรก โดยลองเขียนทั้งแบบ Iteration และ Recursive เพื่อฝึกฝนการเขียน recursion
    
     :: Test Case ::
      input : -- ข้อนี้ไม่มี input --
      output : 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, …
    

  •   Exerxise 2  :  Factorial 🔗

             แฟกทอเรียล (Factorial) ของจำนวนเต็มบวก n คือ ผลคูณของจำนวนเต็มบวกตั้งแต่ 1 ถึง n เขียนแทนด้วย n!  ตัวอย่างเช่น 5! อ่านว่า
    "Factorial 5" แปลว่า ผลคูณของจำนวนเต็มบวกตั้งแต่ 1-5 : 5*4*3*2*1 = 120  Factorial มีไว้ใช้ในการแก้โจทย์เกี่ยวกับการจัดเรียง
    และความน่าจะเป็น เพื่อหาความเป็นไปได้ว่ามีความเป็นไปได้ทั้งหมดกี่รูปแบบ  
    
    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    
     Exercise 2 : จงเขียนโปรแกรมหาเลข Factorial ของ 10 โดยลองเขียนทั้งแบบ Iteration และ Recursive เพื่อฝึกฝนการเขียน recursion
    
     :: Test Case ::
      input : 10
      output : 3628800
    

  •   Exerxise 3  :  Golden Ratio ----- [ Golden Ratio คืออะไร ? ] 🔗

            อัตราส่วนทองคำ (golden ratio) คือ เลขสองจำนวน (a , b : a < b) จะเป็นอัตราส่วนทองคำถ้า (a + b) / a
     มีค่าเข้าใกล้เลข 1.6180339887
    
    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    
     Exercise 3 : จงเขียนโปรแกรมหาเลขเช็คว่าเลข Fibonacci เป็น Golden Ratio หรือไม่
    
     :: Test Case ::
      input : -- ข้อนี้ไม่มี input --
      output : เลขจะเข้าใกล้ 1.6180339887
    

  •   Exerxise 4  :  Hanoi Tower ----- [ ดูการเล่น Hanoi Tower ] 🔗

     Exercise 4 : จงเขียนโปรแกรมโชว์การเล่น Hanoi Tower
    
     :: Test Case ::
      input : -- ข้อนี้ไม่มี input --
      output :
    

    1




<  Contents                                                                                                                                                                                       Array  >